วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

กรรณิการ์


เป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ 2 เมตร ลำต้นและกิ่งเป็นเหลี่ยม ใบเป็นชนิดใบเดี่ยวออกเป็นคู่ เรียงตรงข้าม ใบทรงรูปไข่ ขอบใบเรียบหรือมีจักเล็กน้อย
ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง เป็นดอกเดี่ยวมีโคนกลีบติดกัน มีลักษณะเป็นหลอดสีส้ม กลีบดอกแคบ ปลายกลีบสีขาวและไม่เสมอกัน จะมีกลิ่นหอมตอนกลางคืน และดอกจะร่วงหมดในตอนเช้า ผลมีลักษณะเป็นแผ่นแบน ภายในมีเมล็ดอยู่ 2 เมล็ด
ขยายพันธุ์โดยการตอนหรือปักชำ
ชื่อวิทยาศาสตร์: Nyctanthes arbortristis Linn.
ชื่อสามัญ: กรรณิการ์ (อังกฤษ: Night blooming jasmin - มะลิบานราตรี)
ชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ: กณิการ์ กรณิการ์
ประเภท: ไม้พุ่มยืนต้นขนาดกลาง
ลักษณะ:
ต้น: สูงประมาณ 3 - 4 เมตร ตามลำต้นจะมีรอยเป็นเส้นคาดรอยต้นเป็นช่วงๆ ไปตามข้อต้น เปลือกของลำต้นนั้นมีสีขาว ลักษณะของลำต้นและกิ่งก้านโดยเฉพาะส่วนที่เป็นแขนงและกิ่งอ่อนจะเป็นสี่เหลี่ยม บริเวณแนวสันเหลี่ยมของกิ่งหรือลำต้นมีตุ่มเล็ก ๆ ประเป็นแนวอยู่ด้วย
ใบ: เป็นไม้ใบเดี่ยวแต่ออกเป็นคู่ๆ สลับกันไปตามข้อของต้น มีรูปมนรี ปลายใบแหลม มีสีเขียวและมีขนอ่อนๆ เป็นละอองปกคลุมอยู่ทั่วใบ มีลักษณะสากคายมือ
ดอก: ดอกสีขาว ออกเป็นช่อดอกเล็ก ๆ กระจายที่ปลายกิ่ง ประมาณช่อละ 5 - 8 ดอก แต่ละดอกมี 6 กลีบ กลีบดอกจะบิดเวียนไปทางขวาคล้ายกังหัน วงในดอกเป็นสีแสด งดดอกเป็นสีแสด เกสรเป็นเส้นเล็กละเอียดซ้อนอยู่ในหลอดดอก ขนาดของดอกบานเต็มที่ประมาณ 1.50 - 2 เซนติเมตร หลอดดอกยาว 1.50 เซนติเมตร ปลายแยกเป็น 5 - 8 แฉก ก้านช่อดอกมีใบประดับเล็กๆ 1 คู่ ดอกของกรรณิการ์มีกลิ่นหอมแรง บานกลางคืน ออกดอกตลอดปี
ผล: เป็นแผ่นแบนๆ ภายในมีเมล็ด 2 เมล็ด
การขยายพันธุ์: โดยการตอน หรือปักชำกิ่ง
การดูแล: ขึ้นได้ในดินทั่วไป แต่ต้องการความชุ่มชื้น และปลูกที่กลางแจ้ง
ประโยชน์: ใช้เป็นยาสมุนไพรรักษาโรคได้หลายชนิด ก้านดอกสามารถนำมาทำเป็นสีย้อมผ้าจีวรพระ หรือสีทำขนม
ที่มาhttp://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8Cดดอก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น