วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

โครงสร้างและองค์ประกอบในการแสดงหนังตะลุง


โครงสร้างและองค์ประกอบในการแสดงหนังตะลุง
โครงสร้างและองค์ประกอบในการแสดงหนังตะลุงประกอบด้วยนายหนังมีหน้าที่เป็น
หัวหน้าคณะหัวหน้าหนังตะลุงมีหน้าที่รับงานแสดงรวมทั้งผู้เชิดตัวหนังและพากย์ไปพร้อมกันรวมทั้งเป็นผู้กำหนดวรรณกรรมเรื่องที่จะแสดงในงานต่างๆ วรรณกรรมเรื่องที่แสดงตามตำนานหนังตะลุงแรกเริ่มแรกมีการแสดงเรื่องรามเกียรติ์ต่อมาเล่นเรื่องจักร ๆ วงศ์ ๆ เป็นนิทาน ประโลมโลกซึ่งเอามาจากวรรณคดีต่างๆแปลงมาจากชาดกบ้าง และผูกเรื่องขึ้นเองบ้างตามความสามารถของนายหนัง นอกจากนายหนังแล้วยังมีลูกคู่เป็นผู้บรรเลงดนตรีประกอบการแสดงหนังตะลุง ส่วนเครื่องดนตรีพื้นบ้านประกอบกอบด้วย ทับ กลองตุ๊ก โหม่ง ฉิ่ง และปี่นอก ในปัจจุบันมีเครื่องดนตรีสากลเพิ่มขึ้นมาประกอบการแสดงหนังตะลุง รูปหนังที่ใช้แสดงจะมีสมมุติเป็นตัวละคร รูปสำคัญที่หนังต้องมีได้แก่ ฤาษี พระอิศวร ปรายหน้าบท เจ้าเมือง พระ นางยักษ์ ตัวตลก นอกนั้นจะเป็นรูปเบ็ดเตล็ด โรงหนัง ตะลุงปลูกเป็นเรือนชั่วคราว ยกเสา 4 เสา ยกพื้นสูงเลยศีรษะเล็กน้อย ยกเสา 4 เสา ประมาณ2.30 x 3 เมตร ด้านหน้าขึงจอผ้าขาว ด้านข้างกั้นด้วยทางมะพร้าวหรือจาก ภายในโรงมีหยวก วางชิดจอสำหรับปักรูป 1 ต้น มีเครื่องให้แสงสว่าง สมัยก่อนใช้ไต้แล้วมีพัฒนาเป็นตะเกียงไขวัว ตะเกียงเจ้าพายุและไฟฟ้าตามลำดับ โดยแขวนไว้ตรงช่วงกลางจอ ห่างจากจอราว 1 ศอก โอกาสในการแสดง เดิมหนังตะลุงนิยมเล่นในงานสมโภชหรืองานเฉลิมฉลองต่าง ๆ ส่วนงานมงคล เช่นงานแต่งงานจะไม่นิยมแต่ใน ปัจจุบันความเชื่อดังกล่าวได้เปลี่ยนแปลงไป มีงานการใด ๆ ก็มักรับหนังตะลุงมาแสดงเป็นมหรสพพื้นบ้านที่อยู่คู่กับวิถีชีวิตของชาวภาคใต้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น